ราคาประเมิน

การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ทุกประเภท ส่วนหนึ่งเกิดจากความพึงพอใจของผู้ขายในการตั้งราคา และผู้ซื้อยอมรับได้ ส่วนราคาประเมินที่ดิน

ไม่ว่าจะของภาครัฐหรือของภาคเอกชน หรือราคาตลาด จะเปรียบเหมือน “ลายแทงราคา” ให้กับทั้งผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ตัดสินใจร่วมกันว่า ควรจะซื้อ หรือควรจะขายในราคาเท่าไหร่ จึงจะเหมาะสม

ดังนั้น จะซื้อ” หรือ “จะขาย” อสังหาริมทรัพย์ รู้เรื่อง “ราคาประเมินที่ดิน” ไว้ก่อน ไม่เสียหลายแน่นอน

ราคาประเมินที่ดินแบบไหนมีผลกับค่าธรรมเนียมโอน

ในการจ่ายค่าธรรมเนียมโอนกรรมสิทธิ์  ราคาประเมินที่ดินของกรมที่ดินจะถูกนำมาเปรียบเทียบกับราคาซื้อขายจริง โดยราคาไหนสูงกว่า ก็เลือกใช้ราคานั้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียมฯ

ถ้าจะต้องซื้อหรือขายอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นประเภทใดก็ตาม จะที่ดินเปล่า หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ล้วนต้องมีเรื่องของ “ราคาประเมินที่ดิน” เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างแน่นอน

แล้วราคาประเมินที่ดิน คืออะไร ในฐานะผู้บริโภค หรือคนที่สนใจจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์นั้น ควรต้องศึกษาเรื่องนี้ให้ดี

นิยามของคำว่า “ราคาประเมินที่ดิน” ก็คือ ราคากลางที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านที่ดินได้กำหนดไว้เป็นมาตรฐาน เพื่อใช้เป็นแนวทางด้านราคาในการซื้อขายที่ดินให้กับทั้งผู้ซื้อ และผู้ขาย

ซึ่งผู้เชี่ยวชาญที่ทำหน้าที่กำหนดราคาประเมินที่ดิน ไม่ได้มีเฉพาะภาครัฐเท่านั้น แต่ยังมีผู้เชี่ยวชาญด้านราคาประเมินที่ดินของภาคเอกชนด้วย

ใครบ้างเป็นผู้กำหนด “ราคาประเมินที่ดิน”

ในการซื้อขายที่ดิน จะมี “ราคาประเมินที่ดิน” ด้วยกัน 3 ราคา คือ 1. ราคาประเมินที่ดินของภาคราชการ 2.ราคาประเมินที่ดินของภาคเอกชน และ 3.ราคาตลาด ยกตัวอย่าง

เช่นราคาประเมินที่ดินของภาคราชการ ก็คือ ราคาประเมินที่ดินของกรมที่ดินนั่นเอง ซึ่งกรมที่ดิน จะกำหนดทั้งราคาประเมินที่ดิน และราคาประเมินที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้างด้วย

1. ราคาประเมินที่ดินของกรมที่ดิน

ปัจจุบันกรมธนารักษอัปโหลดข้อมูลเกี่ยวกับราคาประเมินที่ดินทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนได้เข้าไปตรวจสอบเบื้องต้น บนเว็บไซต์กรมธนารักษ์ https://www.treasury.go.th/th/

เพื่อให้ผู้ที่จะซื้อ หรือจะขายที่ดินจะได้กำหนดราคาได้เหมาะสม

โดยสามารถค้นหาราคาประเมินที่ดิน ได้จากเลขที่โฉนด จากเลขที่ดิน ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน ราคาประเมินอาคารชุด ราคาประเมินสิ่งปลูกสร้าง

เช่น คลังสินค้า, ตลาด, ท่าเทียบเรือ, ตึกแถว, บ้านเดี่ยว, ทาวน์เฮ้าส์, โรงงาน, โรงแรม, โรงมหรสพ, ลานกีฬาอเนกประสงค์ และสถานพยาบาล

นอกจากนี้ ในส่วนของกรุงเทพฯ กรมที่ดินยังมีข้อมูลเจาะลึกไปอีก ด้วยการนำราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่กำหนดไว้เป็นรอบ ๆ

มาอัปโหลดไว้ให้ประชาชนได้รับทราบ

แต่หากต้องการการราคาประเมินที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ละเอียดและชัดเจนขึ้น ก็ต้องติดต่อกรมที่ดิน สำนักงานที่ดินที่ตั้งอยู่ ธนารักษ์พื้นที่จังหวัดนั้น ๆ

2. ราคาประเมินที่ดินของภาคเอกชน

ราคาประเมินที่ดินของภาคเอกชนเป็นการประเมินราคาจากผู้เชี่ยวชาญด้านราคาที่ดินของบริษัทเอกชน ซึ่งมีทั้งบริษัทประเมินราคาที่ดิน บริษัทที่ปรึกษาพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

สถาบันการเงินต่าง ๆ ที่มีหน่วยงานประเมินราคาที่ดิน

โดยราคาของภาคเอกชนจะอิงทั้งจากราคาประเมินที่ดินของกรมที่ดิน และอิงจากราคาตลาด แล้วกำหนดเป็นราคากลางของตัวเอง ซึ่งแต่ละบริษัท

แต่ละสถาบันจะมีเกณฑ์ในการกำหนดราคากลางในแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน ราคากลางในพื้นที่เดียวกันแต่ต่างบริษัทกัน ก็แตกต่างกัน (แต่แตกต่างกันไม่มากนัก)

3. ราคาตลาด

ราคาตลาดคือ ราคาที่มีการซื้อขายกันจริง ๆ ในพื้นที่นั้น ๆ ซึ่งมีทั้งราคาจากฝั่งผู้ขาย และราคาจากฝั่งผู้ซื้อ นั่นหมายถึง ผู้กำหนดราคาตลาด ก็คือ ผู้ซื้อกับผู้ขายนั่นเอง ซึ่งในบางพื้นที่ ราคาตลาด กับ

ราคาประเมินที่ดินของภาคเอกชนอาจจะใกล้เคียงกัน หรือเป็นราคาเดียวกัน แต่บางพื้นที่ราคาตลาดก็สูงกว่า หรือต่ำกว่าราคาประเมินที่ดินของภาคเอกชน

ผู้บริโภคต้องเชื่อราคาไหน?

Want to say something? Post a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Download document

Enter your email before downloading this document

Compare